วิธีการเขียนผังงาน


วิธีการเขียนผังงานที่ดี 

การเขียนผังงานควรคานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 
                1. ใช้สัญลักษณ์ตามที่กาหนดไว้ 
                2. ผังงานจะต้องมีจุดเริ่มต้น (Start)และสิ้นสุด (Stop/End/Finish) 
                3. ใช้หัวลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่างหรือซ้ายไปขวา (ยกเว้นที่ต้องทาซ้า) 
                4. ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า 1 เส้นและออก 1 เส้นโดยไม่มีการปล่อยจุดใดจุดหนึ่งไว้ 
                5. เขียนคาอธิบายการทางานในแต่ละขั้นตอนโดยใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย 
                6. ควรหลีกเลี่ยงโยงเส้นไปมาทาให้เกิดจุดตัดมากเพราะจะทาให้เกิดข้อผิดพลาดง่าย ควรใช้สัญลักษณ์เชื่อมจุดต่อเนื่องแทน
                7. ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
                8. ผังงานที่ดีควรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดและชัดเจน สามารถเข้าใจและติดตามขั้นตอนได้ง่าย
                9. ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทางานก่อนไปเขียนโปรแกรม

สัญลักษณ์และความหมายของผังงาน

การเขียนผังโปรแกรมจะมีขั้นตอนในการเขียนที่สาคัญประกอบกันดังนี้

                    1. การกำหนดจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดโปรแกรม 
                                    โดยการเริ่มต้นผังงานจะใช้คาว่า Start และการสิ้นสุดจะใช้คาว่า Stop ซึ่งข้อความดังกล่าวจะอยู่ในสัญลักษณ์ ดังภาพ

ภาพแสดงตัวอย่างการกาหนดจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของการเขียนผังงาน

                    2. การกำหนดค่าเริ่มต้นและการคำนวณ
                                    ในการเขียนผังงานโปรแกรม จะมีการกาหนดค่าเริ่มต้น หรือ การกาหนดค่าคงที่ ให้กับข้อมูล รวมถึงจะมีการคานวณข้อมูลในรูปของสูตรสมการคณิตศาสตร์ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะเขียนข้อความภายในสัญลักษณ์กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังภาพ
ภาพแสดงการกาหนดค่าเริ่มเริ่มต้น ค่าคงที่ และ การคานวณ

                       3. การรับข้อมูลนาเข้า
                                    เป็นการรับข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม หรือข้อมูลที่ต้องป้อนให้คอมพิวเตอร์นาไปใช้ในการคานวณ หรือประมวลผลข้อมูล หากไม่ระบุว่าจะรับเข้าทางอุปกรณ์ใด จะเขียนข้อความรับค่า หรือ Read ข้อมูล ภายในสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมด้านขนาน ดังภาพ

ภาพแสดงการรับข้อมูล a , b เข้าสู่โปรแกรมโดยไม่ระบุอุปกรณ์นาเข้า


ภาพแสดงการรับข้อมูล a , b เข้าสู่โปรแกรมทางคีย์บอร์ด

                         4. การแสดงผลข้อมูล
                                        เป็นการนาข้อมูลที่ได้จากการกาหนดค่า หรือ การคานวณ หรือการประมวลผลใดใด มาแสดงผลออกทางอุปกรณ์ที่กาหนด จะเขียนข้อความแสดงผล หรือ Print ภายในสัญลักษณ์ ดังภาพ

ภาพแสดงการแสดงผลข้อมูล x , y โดยไม่ระบุอุปกรณ์แสดงผล



                                                ภาพการแสดงผลข้อมูล x , y ออกทางจอภาพ                                             ภาพการแสดงผลข้อมูล x , y ออกทางเครื่องพิมพ์


                            5. การตรวจสอบเงื่อนไข
                                          เป็นการเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบเงื่อนไข ซึ่งจะได้ผลลัพธ์จากการตรวจสอบเป็นตรรกะ จริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยจะเขียนข้อความเงื่อนไขที่ต้องการเปรียบเทียบภายในสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ดังภาพ


ภาพแสดงการเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบข้อมูล G มีค่ามากกว่า 100 ใช่หรือไม่ 
ถ้าหากมากกว่าจริงให้แสดงข้อความ “Over” ถ้าหากเท็จ ให้แสดงข้อความ “Ok”

                            6. จุดต่อและการเชื่อมโยงผังงาน
                                          ในการเขียนผังงานอาจมีลาดับการทางานหลายขั้นตอน ต้องใช้กระดาษมากกว่า 1 แผ่น หรือมีจุดต่อหลายจุดในหน้าเดียวกันจึงจาเป็นต้องใช้สัญลักษณ์เชื่อมโยงผังงานดังกล่าวเพื่ออ้างอิงจุดเชื่อมต่อนั้นไปยังตาแหน่งที่มีชื่อหรืออักษรเดียวกัน ดังภาพ


ภาพแสดงจุดต่อ A เชื่อมโยงผังงานในหน้าเดียวกัน

ภาพแสดงจุดต่อ A เชื่อมโยงผังงานที่อยู่คนละหน้า

                                    7.เส้นแสดงทิศทาง 
                                                    เป็นสัญลักษณ์แสดงทิศทางการทำงานของ Flowchart 

                                               


                                    8.การอธิบายผังงาน
                                           เป็นสัญลักษณ์แสดงการอธิบายผังงาน เพิ่มเติมหรือเป็นการหมายเหตุ (Comment)
               


                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น